วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

ครบเครื่องนักพูด

ครบเครื่องนักพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
                การ จะเป็นนักพูดหรือมีอาชีพทางด้านการพูด เราจำเป็นจะต้องพัฒนาตนเองเสมอ โดยเฉพาะการพัฒนาตนเองให้มีความหลากหลายในการนำเสนอ เช่น จะต้องมีการสอดแทรกคำคม สอดแทรกอารมณ์ขัน สอดแทรกสาระที่เป็นประโยชน์ สอดแทรกเกมส์เพื่อการศึกษา สอดแทรกเพลงหรือกิจกรรมให้สอดคล้องกับอารมณ์และบรรยากาศของผู้ฟัง ฯลฯ
                นักพูดกับคำคม  นัก พูดหรือคนที่จะประกอบอาชีพทางด้านการพูดมีความจำเป็นจะต้องเก็บสะสมคำคมและ ข้อมูล จากแหล่งต่างๆ พร้อมทั้งจดแหล่งที่มา หากได้อ่านหรือได้ฟังก็พยายามจดบันทึกว่าเป็นคำพูดของใคร ใครกล่าวประโยคนี้  พระพุทธองค์กล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้พระบรมราโชวาท หรือนักปราชญ์ผู้ใดเป็นผู้กล่าวคำคม เหล่านี้  เพราะ การพูดคำคมหรือการอ้างอิงคำพูดของคนมีอิทธิพลหรือมีชื่อเสียง จะทำให้การพูดในครั้งนั้นๆ เกิดความน่าเชื่อถือและเกิดความยอมรับในเหตุผลของผู้พูดมากยิ่งขึ้น
                นัก พูดกับเพลง นักพูดหรือคนที่มีอาชีพทางด้านการพูด ควรหัดร้องเพลงบ้าง เพราะ ในบางกรณี เราสามารถนำบทเพลงมาใช้ในการบรรยายหรือการพูด เพื่อสร้างบรรยากาศให้สนุกสนาน ไม่ตึงเครียดในการฟัง การใช้เพลงประกอบการพูดจะทำให้ผู้ฟังเกิดการมีส่วนร่วม ไม่เบื่อหน่าย ฉะนั้นนักพูดหรือคนที่ประกอบอาชีพทางด้านการพูดควรเตรียมเพลงหรือหาเพลงที่ เกี่ยวข้องกับการบรรยายหรือเกี่ยวข้องสถานการณ์ มาใช้เพื่อประกอบการพูด
นักพูดกับคำกลอน นักพูดหรือคนที่ประกอบอาชีพทางด้านการพูด ควรหากลอนมาประกอบการพูด
เพื่อ ให้เกิดความหลากหลายในการบรรยาย หาก แต่งเองไม่ได้หรือไม่สามารถแต่งกลอนเองได้ ควรหากลอนจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาประกอบการพูด และควรอ้างอิงแหล่งที่มาว่าใครประพันธ์หรือแต่ง เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ประพันธ์ด้วย
นัก พูดกับเกมส์เพื่อการศึกษา นักพูดหรือคนที่ประกอบอาชีพทางด้านการพูด ควรหาเกมส์เพื่อการศึกษามาประกอบการบรรยายหรือการอบรม เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เกมส์เพื่อการศึกษาจะช่วยให้การบรรยายในเชิงวิชาการเข้าใจง่ายขึ้น เนื่องจากเกมส์ส่วนใหญ่ ผู้อบรมหรือผู้เล่นจะต้องเล่นร่วมกัน ใช้เวลาในการคิด วิเคราะห์ ผู้อบรมหรือผู้เล่น จะมีส่วนร่วมมากกว่าการนั่งฟังแต่วิชาการอย่างเดียว
นัก พูดกับอารมณ์ขัน นักพูดหรือคนที่ประกอบอาชีพทางด้านการพูดที่ดี ควรมีอารมณ์ขันสอดแทรกเข้าไปในเนื้อหาเพื่อให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ที่สนุกสนาน โดยส่วนใหญ่ผู้ฟังคนไทยหรือธรรมชาติของคนไทยเรามักชอบเรื่องที่สนุกสนาน ตลก คนไทยเราชอบหัวเราะ มากกว่าจะชอบฟังอะไรที่มันเครียดๆ จริงจัง
นักพูดกับเนื้อหาสาระ  นัก พูดหรือคนที่ประกอบอาชีพทางด้านการพูด เวลาพูดทุกครั้งควร สอดแทรกสาระที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง เพื่อผู้ฟังจะได้เกิดปัญญา และนำสิ่งที่ฟังไปใช้ประโยชน์ได้  ดังนั้น นักพูดจะต้องเป็นนักอ่านเพื่อให้ตนเองเกิดปัญญาแล้ว จึงจะสามารถไปบรรยายหรือไปสอนผู้ฟังให้มีปัญญาขึ้นมาได้
นักพูดกับเวทีพูด  นัก พูดหรือคนที่ประกอบอาชีพทางด้านการพูด จำเป็นจะต้องแสวงหาเวทีในการพูด ยิ่งเป็นนักพูดหน้าใหม่ยิ่งต้องแสวงหาเวทีในการพูดจากเวทีต่างๆ  เมื่อพูดดี หรือ  เมื่อ มีผู้ฟังติดใจ ฟังแล้วเกิดความประทับใจ คนก็มักจะบอกต่อ จะทำให้เวทีการพูดมากขึ้น ดังนั้น นักพูดหน้าใหม่ควร หาเวทีในการพูดให้มาก เนื่องจากโอกาสมักจะมีสำหรับผู้แสวงหาโอกาสเสมอ
สรุป คนที่จะเป็นนักพูดหรือคนประกอบอาชีพทางด้านการพูด จำเป็นจะต้องพัฒนาตนเองให้เกิดความสามารถที่หลากหลาย ต้องนำเกมส์เพื่อการศึกษาได้   ต้องร้องเพลงได้เพราะบางครั้ง จำเป็นจะต้องนำมาใช้ ต้องเป็นนักสะสมข้อมูล นักจดบันทึก เช่น จดคำคม คำกลอน สุภาษิตต่างๆ ทั้งภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้ในการพูดในอนาคต
สำหรับการฝึกการพูดโดยเฉพาะ การฝึกการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ก็เหมือนกับการฝึกถีบรถจักรยาน มันอาจจะมีอุบัติเหตุบ้าง เจ็บบ้าง ล้มบ้าง  สำหรับคนที่ถีบจักรยานไม่เป็นอาจจะรู้สึกยากลำบาก การฝึกพูดต่อหน้าที่ชุมชนก็เช่นกัน  ดังนั้นต้องอดทน ต้องฝึกฝน ต้องพยายาม จึงจะสามารถเป็นยอดนักพูดที่ผู้ฟังชื่นชมและชื่นชอบได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น