วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

การพูดกับการประเมินการพูด

จะรู้ว่าพูดดี ต้องมีคนประเมิน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
                ความผิดพลาดของตนเอง เป็นบทเรียนที่นำตนไปสู่ความสำเร็จ
                ปัจจุบันนี้กระผมมีงานอดิเรกคือ ไปบรรยายในที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกชน ราชการ บางทีก็ไป ทอล์กโชว์ตามโรงเรียนต่างๆ บ้าง ไปๆ มาๆ รายได้จะดีกว่างานหลักเสียอีก
                จากการบรรยายในสถานที่ต่างๆ มักมีคนถามกระผมว่า ทำอย่างไรจึงจะบรรยายเก่ง กระผม ก็ได้อธิบายว่า อันนี้ไม่ใช่พรสวรรค์นะ มันเป็นพรแสวงต่างหาก เพราะความจริงกระผมไม่สามารถบรรยายได้ตั้งแต่เกิด กระผมมาฝึกฝนเอาทีหลังนี่เอง กว่าจะมาถึงทุกวันนี้ได้ กระผมเองก็เคยเป็นนักพูดประเภท สลายม็อบ อยู่นานทีเดียว คือ พูดไปคนค่อยทยอยออกทีละคนสองคน
                จุด สำคัญคือ เราต้องพยายามปรับปรุงตัวเอง และมีคนถามต่อว่าจะปรับปรุงตัวเองอย่างไร คำตอบคือ การพูดแต่ละครั้งเราควรหาคนที่รู้จัก แล้วให้เขาวิจารณ์การพูดของเรา หรือให้ผู้เข้ารับการอบรม ประเมินเราเวลาเราพูดเสร็จ เมื่อเราได้ข้อมูลหรือข้อบกพร่อง เราก็สามารถนำมมาปรับปรุง หรือแก้ไขในการพูดครั้งต่อไป
                ฉะนั้น การประเมินการพูด หมายถึง การวิเคราะห์ว่าที่เราพูดหรือปาฐกถาไปนั้น ต้องแก้ไขอย่างไร ถ้าเป็นไปได้ควรหาเทปไปอัด คำบรรยายของเรา ในปัจจุบันนี้มีเครื่องถ่ายภาพเคลื่อนไหว ถ้าเรานำไปถ่ายภาพการบรรยายของเราได้ยิ่งดี เพราะจะทำให้เรารู้ว่า ท่าทาง กริยา อาการ ของเราเวลาเราพูดเป็นอย่างไร พูดดีหรือไม่ ท่าทางดีหรือเปล่า น้ำเสียง จังหวะในการพูด เหมาะสมหรือเปล่า
                การ ประเมินการพูด เปรียบเทียบก็คล้ายกับเรามีกระจกเงา ส่องดูการแต่งกายส่องบุคลิกท่าทางของเรา และถ้าไม่สวย ไม่ดี ก็มาแก้ไข มาเปลี่ยนแปลงให้ดีเสีย  
                เพราะ ฉะนั้น รักจะพูดให้คนพอใจ อยากจะเป็นนักพูดประเภทพูดแล้วคนชื่นชอบ คนชอบฟัง เมื่อพูดเสร็จแต่ละครั้งอย่าถอนหายใจโล่งอกเป็นอันขาดว่า หมดทุกข์หมดโศกแล้ว ขอให้เก็บความทรงจำนั้นไว้แล้วมานั่งคิดว่า ถ้าจะให้ดีกว่าที่ได้พูดไปเราควรทำอย่างไร เราต้องแก้ไขตรงไหน เขามีความคิดความเห็นเกี่ยวกับการพูดของเราอย่างไร อย่าปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส่ ถ้าเราใฝ่ใจอยากจะเป็นนักพูดที่มีอนาคต 
                ท่านถูกติ                                ต้องตรอง               มองที่ติ
                แล้วเริ่มริ                                ลงรอย                    คอยแก้ไข
                ติเพื่อก่อ                 ต่อสติ                     ติเข้าไป
                เป็นบันได               ไต่เต้า                      ให้เราดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น