วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

เทคนิดการพูด

เทคนิคการพูด

โดย...สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com

อันวาจา                   พาที                         นี้เป็นเอก
จะปลุกเสก              ให้คนชอบ              ตอบสนอง
จะต้องพูด               ให้สนุก                   สุขสมปอง
ขอรับรอง                สำเร็จกิจ                 พิชิตชัย

นักพูดที่มีชื่อเสียงหลายคนทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ มักมีเทคนิคแตกต่างกัน
 อ.ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ เจ้าตำรับทอล์คโชว์เมืองไทยคนแรกๆ  อ.ทินวัฒ น์ มฤคพิทักษ์ มักจะเขียนสิ่งที่น่าสนใจหรือสิ่งที่ใช้ประกอบการพูดลงในกระดาษแผ่นเล็กๆ แทบทุกวัน เมื่อถึงเวลาแสดงทอล์คโชว์ ก็จะเปิดกล่องแล้วนำมาเขียนบทพูด
ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย มักให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเตรียมคำพูด ท่านจะมีสมุดอยู่เล่มหนึ่ง เวลาอ่านเจอคำพูดของใครที่น่าสนใจหรือที่สามารถจะนำไปใช้ในอนาคตได้ ท่านก็จะจดเป็นข้อมูล แล้วท่านก็เขียนโครงเรื่อง ซ้อมพูด อัดใส่เทป เปิดฟังแล้วแก้ไข เมื่อแก้ไขจนท่านพอใจถึงได้นำออกไปพูด

เด ล คาร์เนกี้ อาจารย์สอนด้านการพูดระดับโลกเคยซ้อมบทพูดต่อกองหญ้า ซ้อมพูดขณะถอนหญ้า หรืออดีตประธานาธิบดีของสหรัฐ ลินคอล์น ซ้อมพูดขณะอยู่บนหลังม้า ขณะที่ขี่ม้าเดินทางเป็นระยะทางไกลๆ
บางคนก็ฝึกพูดต่อหน้ากระจกแล้วก็ได้ผล ในวันนี้กระผมจึงอยากจะเขียนถึงเรื่องเทคนิคการพูด 
1.       การ พูดที่ดีต้องเน้นไปที่ตัวผู้ฟังเป็นหลัก ควรพูดเรื่องที่ใกล้ตัวผู้ฟัง ควรพูดให้ตรงกับวัยของผู้ฟัง เช่น การพูดให้วัยรุ่นควรพูดเรื่องที่สนุกสนาน พูดให้วัยทำงานก็ควรพูดเกี่ยวกับเรื่องอาชีพ ความก้าวหน้าในอนาคต  วัยชราหรือวัยสูงอายุ ก็ควรพูดเกี่ยวกับเรื่องศาสนา เรื่องของสุขภาพ

2.       การ พูดที่ดีต้องยกตัวอย่างให้มากๆ บางครั้งเรื่องที่พูดจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนามธรรมเพราะฉะนั้น นักพูดที่มีประสบการณ์สูง มักจะยกตัวอย่างประกอบการพูดมากๆ เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจ ที่ สำคัญการยกตัวอย่างประกอบควรเกี่ยวข้องกับเรื่องที่พูดด้วย ไม่ควรนำตัวอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องมาประกอบกับหัวข้อเรื่องที่บรรยายถึงแม้ ว่าตัวอย่างนั้นจะสนุกหรือเป็นตัวอย่างที่ดีก็ตาม

3.       การพูดที่ดีต้องสอดใส่อารมณ์ขัน โดย เฉพาะในสังคมไทยเรา นักพูดที่มีอารมณ์มักเป็นที่นิยม เป็นที่ศรัทธาต่อผู้ฟัง การมีอารมณ์ขันมักช่วยให้การพูดเกิดการผ่อนคลาย การมีอารมณ์ขันสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี การมีอารมณ์ขันมักจะสร้างเสน่ห์ให้แก่ตัวผู้พูดเอง

 4.       การ พูดที่ดีต้องครบเครื่อง หมายถึง มีบทกลอนประกอบการพูดบ้าง มีเพลงประกอบการพูดบ้าง มีคำคมประกอบการพูดบ้าง ดังนั้นผู้รักที่จะเป็นนักพูดควรอ่าน ควรท่อง บทกลอน คำคม ควรฝึกร้องเพลงประกอบการพูด เพื่อให้การพูดของตนเกิดความหลากหลายผู้ฟังจะได้ไม่เบื่อหน่ายแต่จะสนุก เมื่อได้ฟังเราพูด

5.การพูดที่ดี ควรมีน้ำเสียงต่างๆประกอบการพูดตามสถานการณ์ต่างๆ ถ้อยคำบ่งบอกถึงความหมาย แต่น้ำเสียงก่อให้เกิดการหวั่นไหวได้ เช่น เราไล่สุนัข  ไป ไป ไป ด้วยเสียงเบาๆ สุนัขมักไม่กลัวแต่กลับเดินมาหาเรา แต่ถ้าเราเรียกสุนัข มา มา มาเนี่ย ด้วยเสียงดัง สุนัขมักกลัวกลับไม่มาหาเรา เพราะอะไรครับ ก็เพราะน้ำเสียงของเรานั่นเอง  
7. การพูดที่ดี ต้องเป็นตัวของตัวเอง  เราอาจจะประทับใจนักพูดคนใดก็ตาม  เรา อาจจะเรียนรู้จากนักพูดคนใดก็ตาม เราอยากเป็นเหมือนใครก็ตาม แต่สุดท้าย เราต้องเป็นตัวของเราเอง เราอาจจะเลียนแบบนักพูดคนใดก็ตามที่เราชอบ เช่น อาจารย์จตุพล ชมพูนิช เราเลียนแบบ อาจารย์จตุพล ชมพูนิช ได้เหมือนที่สุด เราก็เป็นที่สอง ดังนั้น จงเป็นตัวของตัวเอง แล้ว คุณจะเป็นที่หนึ่งในแบบฉบับของคุณเอง 
             คนคิดน้อย                                        พูดมาก

        คนพูดมาก                                              ทำน้อย

       พูดดี                                                       มิได้หมายความว่าทำดี

     พูดเก่ง                                                     มิได้หมายความว่าทำเก่ง

        โง่หรือฉลาด                                           อาจทราบได้จาก  คำพูด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น